เมนู

อุปสีวปัญหาที่ 6


ว่าด้วยสิ่งหน่วงเหนี่ยว


[430] อุปสีวมาณพทูลถามปัญหาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะ ข้าพระองค์
เป็นผู้เดียว ไม่อาศัยธรรมหรือบุคคลอะไร
แล้ว ไม่สามารถจะข้ามห้วงน้ำใหญ่คือกิเลส
ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้สมันตจักษุ ขอพระองค์
จงตรัสบอกที่หน่วงเหนี่ยว อันข้าพระองค์
พึงอาศัยข้ามห้วงน้ำคือกิเลสนี้ แก่ข้าพระ-
องค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนอุปสีวะ
ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งอากิญ-
จัญญายตนสมาบัติ อาศัยอารมณ์ว่า ไม่มี
ดังนี้แล้ว ข้ามห้วงน้ำคือกิเลสเสียเถิด ท่าน
จงการละกามทั้งหลายเสีย เป็นผู้เว้นจากความ
สงสัย เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาให้
แจ่มแจ้งทั้งกลางวันกลางคืนเถิด.
อุ. ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดี
ในกามทั้งปวงละสมาบัติอื่นเสีย อาศัยอากิญ-

จัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญา
วิโมกข์ (คืออากิญจัญญายตนสมาบัติ ธรรม
เปลื้องสัญญา) เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่
หวั่นไหว พึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตน-
พรหมโลกนั้นแลหรือ.
พ. ดูก่อนอุปสีวะ ผู้ใดปราศจาก
ความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวง ละสมาบัติ
อื่นเสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อม-
ใจลงในสัญญาวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็น
ผู้ไม่หวั่นไหวพึงตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตน-
พรหมโลกนั้น.
อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักษุ ถ้า
ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว พึงตั้งอยู่ในอากิญ-
จัญญายตนพรหมโลกนั้นสิ้นปีแม้มากไซร้
ผู้นั้นพึงพ้นจากทุกข์ต่าง ๆ ในอากิญจัญ-
ญายตนพรหมโลกนั้นแหละ พึงเป็นผู้เยือก-
เย็น หรือว่าวิญญาณของผู้เช่นนั้น พึงเกิด
เพื่อถือปฏิสนธิอีก.
พ. ดูก่อนอุปสีวะ มุนีพ้นแล้วจาก
นามกาย ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่ถึงการ
นับ ฉันใด เปรียบเหมือนเปลวไฟ อัน
กำลังลมพัดไปแล้ว ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้
ไม่ถึงการนับ ฉันนั้น.

อุ. ท่านผู้นั้นถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
ท่านผู้นั้นไม่มี หรือว่าท่านผู้นั้นเป็นผู้ไม่มี
โรค ด้วยความเป็นผู้เที่ยง ข้าแต่พระองค์ผู้
เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัสพยากรณ์ความ
ข้อนั้นให้สำเร็จประโยชน์แก่ข้าพระองค์เถิด
เพราะว่าธรรมนั้น พระองค์ทรงรู้แจ้งแล้ว
ด้วยประการนั้น.
พ. ดูก่อนอุปสีวะ ท่านผู้ถึงความ
ตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีประมาณ ชนทั้งหลายจะ
พึงกล่าวท่านผู้นั้นด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น
ใด กิเลสมีราคะเป็นต้นนั้น ของท่านไม่มี
เมื่อธรรม (มีขันธ์เป็นต้น) ทั้งปวง ท่านเพิก-
ถอนขึ้นได้แล้ว แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งหมด
เป็นอันท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว.

จบอุปสีวมาณวกปัญหาที่ 6

อรรถกถาอุปสีวสูตร1ที่ 6


อุปสีวสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า เอโก อหํ ข้าพระองค์เป็นผู้เดียว ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มหนฺตโมฆํ คือ ห้วงน้ำใหญ่. บทว่า
อนิสฺสิโต ไม่อาศัย คือไม่อาศัยธรรมหรือบุคคล. บทว่า โน วิสหามิ คือ
ข้าพระองค์ไม่สามารถ. บทว่า อารมฺมณํ เครื่องหน่วงเหนี่ยวคือธรรมเป็นที่
อาศัย บทว่า ยํ นิสฺสิโต ได้แก่ อาศัยธรรมหรือบุคคล.
บัดนี้ เพราะพราหมณ์นั้นได้อากิญจัญญายตนะ จึงไม่รู้ธรรมเป็นที่
อาศัยแม้มีอยู่นั้น ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมเป็นที่อาศัย
และทางอันเป็นเครื่องนำออกไปให้ยิ่งขึ้นแก่เขา จึงตรัสคาถาว่า อากิญฺจญฺญํ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เปกฺขมาโน แปลว่าเพ่ง คือมีสติเข้าอากิญ-
จัญญายตนสมาบัตินั้น และออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้วเห็นโดยความ
เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า นตฺถีติ นิสฺสาย อาศัยว่าไม่มี คือทำสมาบัติ
ที่เป็นไปแล้วนั้นให้เป็นอารมณ์ว่า ไม่มีอะไร. บทว่า ตรสฺสุ โอฆํ ข้าม
ห้วงน้ำคือกิเลสเสียได้. คือข้ามโอฆะ 4 อย่างตามสมควร ด้วยวิปัสสนาอัน
เป็นไปแล้วตั้งแต่นั้นมา. บทว่า กถาหิ คือจากความสงสัย. บทว่า ตณฺหกฺขยํ
รตฺตมหาภิปสฺส
เห็นธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาให้แจ่มแจ้งทั้งกลางคืน
กลางวัน คือจงเห็นนิพพานทำให้แจ่มแจ้งทั้งกลางคืนและกลางวัน. ด้วยบทนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างเป็นสุขในปัจจุบันแก่
อุปสีวมาณพนั้น.
1. บาลีเป็น อุปสีวปัญหา.